ภาพของไวรัส โควิด-19 จากการถ่ายภาพด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน เครดิตภาพโดย Shutterstock / Midnight Movement
สัตว์ป่าก่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหารและการดำรงชีวิตของชุมชนท้องถิ่นในหลายพื้นที่ทั่วโลก อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญก็คือมนุษย์ควรบริโภคกินเนื้อสัตว์ที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพ โดยยังคงรักษาประชากรของสัตว์ให้คงอยู่ได้อย่างยั่งยืน โควิด-19 เป็นเชื้อโรคเช่นเดียวกับอีโบลา ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสที่ติดต่อจากสัตว์ไปยังมนุษย์ โดยคาดว่าเชื้อนี้น่าจะเกิดจากค้างคาวและอาจแพร่กระจายไปยังสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในป่าชนิดอื่น ๆ ก่อนที่จะแพร่กระจายไปสู่มนุษย์ ไวรัสและแบคทีเรียได้เข้ามาสู่มนุษย์ซึ่งนำพามาโดยสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นในช่วงวิวัฒนาการของเรา ซึ่งในระหว่างของการเกิดวิวัฒนาการบางครั้งนั้นมีประโยชน์ ชิ้นส่วนของเซลล์ของเรา แต่เดิมมีความเป็นอิสระต่อแบคทีเรีย อย่างไรก็ตามกระบวนการปรับตัวของเซลอาจช้าและอาจเป็นอันตรายได้
ความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโควิด-19 สูงสุดสำหรับคนที่มีอายุมากกว่า 60-70 ปี ความพยายามช่วยชีวิตของคนมุ่งเน้นการบริการทางการแพทย์ในประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและเริ่มดำเนินการเพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัว ซึ่งจะมีผลในต่อการอนุรักษ์ ผลกระทบอย่างหนึ่งคือจะสร้างความเสียหายอย่างกว้างขวางต่อการดำรงชีวิต เนื่องจากผู้คนมีการใช้ทรัพยากรอย่างไม่ยั่งยืนเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามการเกิดโควิด-19 อาจมีผลดีต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากผู้คนเรียนรู้ที่จะทำงานจากที่บ้านมากขึ้น และใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในการเดินไกลลดน้อยลง
การแก้ปัญหาที่ยั่งยืน
สัตว์ในกลุ่มวานรเป็นสัตว์ที่น่าเอ็นดูแต่เป็นอันตรายหากนำเนื้อมาบริโภค เครดิตภาพ Shutterstock / Julian Popov
มีกระบวนการที่เราสามารถทำได้ทั้งในอนาคตและปัจุจุบันทันที เราจะต้องคิดอย่างรอบคอบเพื่อหลีกเลี่ยงการทำอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและตัวเราเอง ตัวอย่างเช่น บางคนบอกว่า โควิด-19 เป็นสาเหตุที่ที่มนุษย์ไม่ควรกินสัตว์อื่นหรือแม้แต่เข้าไปคลุกคลีกับพวกมัน อย่างไรก็ตามมนุษย์ได้ปรับตัวให้เข้ากับไวรัสและแบคทีเรียจากสัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงมาเป็นเวลาหลายพันปีแล้ว ร่างกายของเรามีจุลินทรีย์จำนวนมากซึ่งส่วนใหญ่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เราคลุกคลีกับสัตว์ต่าง ๆ ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็ตาม ตั้งแต่ด้วงในดินตัวอ่อนที่คลานอยู่ไปจนถึงนกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มาเยี่ยมบ้านของเรา กระนั้น อาหารที่ได้จากป่าจำเป็นต้องมีสุขลักษณะที่ดีและมีการจัดการอย่างยั่งยืน
ในเรื่องนี้ เราต้องใส่ใจต่อสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตที่มีความเกี่ยวข้องกับเราอย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษ ดูเหมือนว่าโรคระบาดไม่ได้เกิดขึ้นมาจากจากสัตว์เลือดเย็น เช่น ปลา และสัตว์เลื้อยคลาน ความเสี่ยงของการเกิดโรคระบาดมักมาจากสัตว์จำพวกวานรและค้างคาวซึ่งเป็นพาหะนำโรค ดูเหมือนว่าจะเป็นวิธีการที่ดีที่เราจะไม่กินสัตว์ในกลุ่มวานร และควรลดการสัมผัสกับค้างคาวและสิ่งขับถ่ายของสัตว์เหล่านี้ ช่างเป็นเรื่องที่โง่เขลาและไร้มนุษยธรรมหากมีการนำสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในป่าไปขายในตลาดสด กระนั้น มีคำถามว่า เราไม่ควรเข้าไปคลุกคลีกับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ ที่เราสามารถปรับตัวเข้ากับมันได้แล้วและไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคแล้ว ใช่หรือไม่ คำตอบคือ "ไม่ใช่" สิ่งนี้โง่เขลาเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการควบคุมและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนที่กระตุ้นให้ผู้คนอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ได้โดยการอนุรักษ์ระบบนิเวศของพวกมันได้ นอกจากนี้ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่เสี่ยงในทางเศรษฐกิจและเป็นช่วงที่มีการเพิ่มแรงกดดันให้เกิดการพัฒนามากขึ้น จึงอาจส่งผลต่อการทำลายสิ่งแวดล้อมได้ ธรรมชาติของเราต้องการการช่วยเหลือจากผู้ที่เห็นความสำคัญถึงผลผลิตทางระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์
การแก้ปัญหาในทันทีทันใด
โควิด-19 เกลียดสบู่! เครดิตภาพโดย Shutterstock / Red Confidential
สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ต้องทำในทันที คือ อย่าแพร่เชื้อไวรัสไปสู่ผู้อื่น ความรู้ทางด้านชีววิทยาของโควิด-19 บอกเราว่า หากไวรัสไม่สามารถแพร่กระจายระหว่างคนไปสู่พื้นผิวสัมผัสที่ชื้นหรือสู่ละอองน้ำในอากาศ ไวรัสในบริเวณนั้นก็จะตายไป ดังนั้นเราแต่ละคนต้อง:
• อยู่ห่างจากผู้คนเพื่อลดการสัมผัสกับไวรัสในละอองที่หายใจออกมา
• งดเว้นการเดินทางหรือรวมตัวกันเป็นกลุ่มซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
• Wear a mask when surrounded by many people in enclosed environments or crowds;
• ล้างมือและฆ่าเชื้อพื้นผิวต่าง ๆ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสไปสู่ตา จมูก หรือปาก