เราต้องลดโลกร้อน

 
ระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และอุณหภูมิอากาศทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นทุกปีเหนือระดับอุณหภูมิก่อนยุคอุตสาหกรรม เครดิตภาพโดย Creative Commons
ระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และอุณหภูมิอากาศทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นทุกปีเหนือระดับอุณหภูมิก่อนยุคอุตสาหกรรม เครดิตภาพโดย Creative Commons

โลกของเรากำลังร้อนขึ้น คาดว่าจะร้อนขึ้นเนื่องจากการขยายตัวของดวงอาทิตย์ทีละน้อยและการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในวงโคจรของโลก อย่างไรก็ตาม ผลกระทบดังกล่าวสามารถคาดเดาได้ แต่ไม่สามารถอธิบายได้ถึงความร้อนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่เราพบในปัจจุบันนี้ได้ ภาวะโลกร้อนได้ก่อตัวขึ้นเมื่ออุตสาหกรรมและการเดินทางของมนุษย์พัฒนาขึ้นมา สอดคล้องกับคำทำนายอย่างหนึ่งของนักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดนเมื่อ 150 ปีก่อน ที่กล่าวถึงการเพิ่มขึ้นของก๊าซบางชนิดว่าอาจทำให้ชั้นบรรยากาศมีการกักเก็บความร้อนจากดวงอาทิตย์มากขึ้น และอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าตกใจในช่วง 70 ปีที่ผ่านมา ก็สามารถอธิบายได้จากการเพิ่มขึ้นของระดับก๊าซ "เรือนกระจก" ซึ่งมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซมีเทนในชั้นบรรยากาศปริมาณมากที่สุด

 

.

สิบสองปีแห่งการละลายของธารน้ำแข็ง Briksdal ของนอร์เวย์ซึ่งปกคลุมทะเลสาบก่อนหน้านี้เพียงหนึ่งทศวรรษ เครดิตภาพโดย Mateusz Kurzik / Oleg Kozlov / Shutterstock
สิบสองปีแห่งการละลายของธารน้ำแข็ง Briksdal ของนอร์เวย์ซึ่งปกคลุมทะเลสาบก่อนหน้านี้เพียงหนึ่งทศวรรษ เครดิตภาพโดย Mateusz Kurzik / Oleg Kozlov / Shutterstock

อุณหภูมิของโลกที่เพิ่มสูงขึ้นก่อให้เกิดผลกระทบหลัก ๆ สองประการ คือ 1. ผลกระทบที่ค่อยเป็นค่อยไป เห็นได้จากการละลายของน้ำแข็งในบริเวณขั้วโลก โดยธารน้ำแข็งในแอนตาร์กติกาและกรีนแลนด์กำลังละลายและไหลอย่างรวดเร็วแผ่นน้ำแข็งในพื้นที่ดังกล่าวซึ่งเคยปกคลุมแผ่นดินไว้ได้ละลายลงสู่ทะเล ทำให้ระดับน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งในช่วงศตวรรษนี้น้ำทะเลอาจสูงขึ้นมากถึงหนึ่งเมตร และ 2. ผลกระทบที่เกิดขึ้นฉับพลัน เห็นได้จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศซึ่งเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิน้ำทะเลและสภาพอากาศที่ได้รับผลกระทบจากอุณหภูมิของน้ำทะเล ไอน้ำจำนวนมากจากน้ำทะเลที่มีอุณหภูมิสูงและระเหยสู่ชั้นบรรยากาศและการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของสภาพอากาศ ทำให้บางพื้นที่มีฝนตกชุกและมีพายุมากกว่าปกติ ในทางตรงกันข้าม พื้นที่อื่น ๆ อาจจะประสบกับปัญหาสภาพอากาศแห้งแล้งเป็นเวลานานและขาดแคลนน้ำสำหรับกักเก็บ

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง

อุทกภัยในประเทศไทย เครดิตภาพโดย Atikan Pornchaprasit / Shutterstock
อุทกภัยในประเทศไทย เครดิตภาพโดย Atikan Pornchaprasit / Shutterstock
 

ประชากรมนุษย์มีจำนวนมากขึ้นเนื่องจากการพัฒนาการเกษตรในช่วงหลายพันปีที่สภาพอากาศยังไม่แปรปรวน อย่างไรก็ตามการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกในปัจจุบัน ได้คุกคามมนุษย์และธรรมชาติใน 4 ประการด้วยกัน คือ ทำให้เกิดน้ำท่วม ไฟไหม้ป่า ความอดอยาก และโรคภัยไข้เจ็บ น้ำท่วมจะเลวร้ายมากขึ้น เนื่องจากน้ำทะเลที่สูงขึ้นในพื้นที่ราบลุ่ม และฝนที่ตกหนักจะชะล้างดินไปยังที่อื่น ๆ สภาพอากาศที่แห้งเป็นเวลานานทำให้พืชมีแนวโน้มที่จะแห้จนเกิดเป็นไฟไหม้ป่า ความแห้งแล้งและน้ำท่วมส่งผลกระทบต่อพืชพรรณซึ่งเป็นอาหารของมนุษย์และสัตว์อื่น ๆ ทำให้เกิดความอดอยาก และอาจเลวร้ายมากขึ้น หากเกิดการขาดแคลนน้ำสำหรับการบริโภค ผลกระทบเหล่านี้ยังทำให้พืชและสัตว์ต่าง ๆ เสี่ยงต่อการเกิดโรคในเขตร้อน ซึ่งอาจแพร่กระจายไปยังพื้นที่ยังเขตอบอุ่น

การเกิดไฟไหม้ป่าในประเทศสหรัฐอเมริกา เครดิตภาพโดย ARM/Shutterstock
การเกิดไฟไหม้ป่าในประเทศสหรัฐอเมริกา เครดิตภาพโดย ARM/Shutterstock

ระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มสูงขึ้นพร้อม ๆ กับการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิล การผลิตถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซ ที่มีเพิ่มมากขึ้น แม้ว่าเราจะหยุดการเผาไหม้เชื้อเพลิงเหล่านี้ได้ แต่อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นทีละน้อยในปัจจุบัน อาจใช้เวลาหลายสิบปีในการกลับไปลดลงอีก อันตรายที่ยิ่งใหญ่กว่านั้น คืออุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นจะถึงจุดเปลี่ยนซึ่งยากที่จะย้อนกลับได้ สิ่งนี้ทำให้การทำลายป่าขนาดใหญ่ในเขตร้อนมีความน่าเป็นห่วงมากยิ่งขึ้น เมื่อเกิดไฟป่าและพื้นที่ป่าถูกทำลาย สภาพพื้นดินเกิดความแห้งแล้ง ชุมชนท้องถิ่นจำเป็นต้องมีการอพยพย้ายถิ่นฐานออกจากที่อยู่อาศัยเดิม มนุษย์จำนวนมากขึ้นจะต้องพลัดพรากจากถิ่นฐาน หากระดับน้ำทะเลสูงจนเกิดพายุน้ำท่วมในชุมชนเมืองที่ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่ง ความเสี่ยงจากการพลัดถิ่นฐานดังกล่าวอาจทำให้ความสนใจของนานาชาติหมดไปอย่างสิ้นเชิงจากแนวทางแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศการอนุรักษ์ธรรมชาติและการอยู่รอดของเราเองหรือไม่ ?

พวกเราทำอะไรได้บ้าง?

อุปกรณ์พลังงานในครัวเรือนแบบใหม่ในยุโรปและแอฟริกา เครดิตภาพโดย Hecke61 / MrNovel / Shutterstock
อุปกรณ์พลังงานในครัวเรือนแบบใหม่ในยุโรปและแอฟริกา เครดิตภาพโดย Hecke61 / MrNovel / Shutterstock

มีวิธีแก้ปัญหาด้วยวิธีทางธรรมชาติเพื่อช่วยให้ทะเล พื้นดิน และพืชพรรณสามารถดูดซับคาร์บอนได้มากขึ้น เช่น การปลูกต้นไม้มากขึ้นทำให้เกิดดินใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และยังเป็นการสร้างโอกาสในการกักเก็บคาร์บอนเช่นเดียวกับการมีต้นไม้ในอาคาร วิธีการคืนความชุ่มชื้นในดินด้วยการฟื้นฟูระบบนิเวศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่พรุป่านั้น การสร้างป่าไม้ใหม่และการทำการเกษตรในเชิงฟื้นฟูนั้นอาจช่วยได้มาก นอกจากนี้ยังมีวิธีแก้ปัญหาด้วยวิธีทางวิศวกรรม เช่น การผลิตไฟฟ้าจากแสงแดดและลม ซึ่งสามารถใช้แทนเชื้อเพลิงฟอสซิลที่นำมาใช้ในครัวเรือน อุตสาหกรรมและการขนส่งได้ โดยเราสามารถหาวิธีกักเก็บพลังงานไว้ใช้ให้เพียงพอในช่วงเวลากลางคืน ประเทศทางตอนเหนือจำเป็นต้องปรับใช้รูปแบบชีวิตให้มีความยั่งยืนมากขึ้นและช่วยเหลือประเทศทางตอนใต้ด้วยวิธีการนี้ เพราะเราต่างอยู่ร่วมโลกใบเดียวกัน ไม่ว่าเราจะทำอะไร เราต้องดำเนินการอย่างรวดเร็วก่อนที่มันจะสายเกินไป