การปกป้องและรักษาธรรมชาติ
ความสมบูรณ์ของธรรมชาติเปลี่ยนไปอย่างไรเมื่อเราใช้ที่ดิน เครดิตภาพโดย Chris Heward / GWCT
เมื่อมีแรงกดดันเกิดขึ้นในธรรมชาติ การปกป้องและการจัดการพื้นที่ทางธรรมชาติจึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่หลบภัยเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิตที่ง่ายต่อการตายไปจากระบบนิเวศ เพราะที่หลบภัยจะเป็นพื้นที่ที่ทำให้ให้สายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ นั้นยังคงอยู่และสามารถสืบสายพันธ์ุได้ต่อไป ความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิตในพื้นที่ที่ยังไม่มีการบุกรุกของบางประเทศเขตร้อนนั้นมีมากพออยู่แล้ว และยังคงสามารถรักษาไว้ได้โดยไม่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟู นอกจากนี้สิ่งที่เหมาะอย่างยิ่งในการปกป้องสิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศของพื้นที่ต่าง ๆ คือ ควรมีการอนุรักษ์อย่างต่อเนื่อง โดยในเขตอนุรักษ์นั้นมีควรมีขอบเขตและเชื่อมต่อกับพื้นที่ที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติที่มีการใช้ประโยชน์จากมนุษย์ไม่มากนักและแยกออกมาอย่างชัดเจน หากเขตอนุรักษ์เปรียบเสมือนหมู่เกาะในทะเลซึ่งมีการใช้ประโยชน์จากมนุษย์อย่างหนัก ก็จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมลพิษ การสูญเสียแหล่งน้ำ และไม่สามารถรักษาประชากรของสัตว์หายากเอาไว้ได้ การแบ่งเขตอนุรักษ์นี้จึงทำให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ธรรมชาติภายในท้องถิ่นได้เป็นอย่างมากและยังเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายโดยยังคงรักษาธรรมชาติให้อุดมสมบูรณ์เอาไว้ได้ ในประเทศนามิเบีย แอฟริกาใต้ และซิมบับเว ที่ดินและประชากรสัตว์ป่าขนาดใหญ่ที่อยู่ภายนอกเขตอุทยานแห่งชาติได้รับการดูแลและเฝ้าระวังโดยกลุ่มผู้ล่าสัตว์ การแบ่งเขตอนุรักษ์ดังกล่าวเหมาะสมเป็นอย่างยิ่งต่อสิ่งมีชีวิตบางชนิดที่ชุมชนในท้องถิ่นยอมให้ใช้ประโยชน์ได้ โดยความเสียหายจากการใช้ประโยชน์เหล่านั้นสามารถทดแทนได้และยังคงสภาพเช่นเดิมในเวลาต่อมา
การฟื้นฟูและการเพิ่มคุณค่าทางธรรมชาติ
การฟื้นฟูป่าชายเลนบริเวณชายฝั่ง เครดิตภาพโดย Marco Quesada
แม้ว่าพิ้นที่ 15 % จากทั่วโลก จะได้รับความคุ้มครอง แต่ระบบนิเวศที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์ยังคงเสื่อมโทรมและชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตท้องถิ่นก็ได้ตายไปเป็นจำนวนมาก อันเป็นผลมาจากความต้องการอาหารและปัจจัยในการดำรงชีวิตของมนุษย์ที่มีมากขึ้น ปัญหาจากการสร้างปัจจัยพื้นฐานของมนุษย์ เช่น การสร้างถนน เขื่อน ไฟฟ้า และกังหันลม อาจลดลงได้ หากมีการนำความรู้มาใช้ในการสร้างปัจจัยเหล่านี้อย่างเหมาะสม การเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยในการจัดการที่ดิน อาจมีประโยชน์ต่อการทำไร่ ป่าไม้ และการทำสวน แต่อาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ เพราะอา่จทำให้เกิดปัญหาการสูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์บางชนิด การสร้างกล่องรัง 'ธนาคารแมลงปีกแข็ง' แนวกั้นคันดิน และการใช้ที่ดินในรูบแบบต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนแล้วแต่เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในปัจจุบันทั้งสิ้น การจัดการงานด้านระบบนิเวศจึงจำเป็นต้องมีการทำงานในรูปแบบ "นิเวศวิทยาเชิงสมานฉันท์" มากขึ้น โดยมีการจัดการที่ดิน (รวมทั้งในเขตเมือง) ร่วมกับการจัดการโครงสร้างพื้นฐานอย่างเหมาะสม
ในกรณีที่มีการเก็บเกี่ยวผลผลิตอาหารออกไปจากป่าซึ่งเคยมีความอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเก็บเกี่ยวผลผลิตเนื้อสัตว์เพื่อขายในตลาดของชุมชนเมือง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีมาตรการป้องกันและควบคุมการเก็บเกี่ยวผลผลิตเหล่านั้นโดยชุมชน ทั้งนี้โดยอาศัยความรู้ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์สมัยใหม่และภูมิปัญญาในชุมชนนั้น ๆ ประกอบกัน การยอมรับถึงแนวทางการอนุรักษ์โดยชุมชนจะเกิดขึ้นได้ช้า หากสังคมนั้นไม่มีความรับผิดชอบต่อการจัดการระบบนิเวศให้อยู่ในอยู่ระดับที่เหมาะสมขั้นต่ำสุด ('แนวทางของระบบนิเวศ') และยังมีความเชื่อที่ว่าการพัฒนาเพื่อประโยชน์ของมนุษย์เป็นสิ่งที่ดีกว่าการจัดการและฟื้นฟูเพื่อชดเชยผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยมนุษย์ แม้ว่าการฟื้นฟูธรรมชาติจะถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวางและเป็นทางการ แต่การนำไปใช้ปฏิบัติจริงนั้นทำได้ไม่ดีนัก รัฐบาลและหน่วยงานต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องร่วมมือกันให้มากขึ้น โดยร่วมมือกับทั้งชุมชนท้องถิ่นและชุมชนทั้งหมดที่มีความสนใจในเรื่องเกษตกรรมและสัตว์ป่า ชุมชนที่มีความสนใจในการฟื้นฟู สามารถมีบทบาทหน้าที่พิเศษได้ เช่น นักดูนกพยายามจัดตำแหน่งกังหันลมของฟาร์มอย่างระมัดระวังเพื่อมีความปลอดภัยต่อนกที่บินไปมา
ระบบนิเวศในเมือง
ความหลากหลายของพืชส่งผลต่อความหลากหลายของสัตว์ด้วยเช่นกัน เครดิตภาพโดย Jamesteohart / Shutterstock
การอนุรักษ์และการสร้างความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติขึ้นใหม่นั้น ไม่เพียงแต่ต้องครอบคลุมพื้นที่ชนบทเท่านั้น แต่ควรรวมถึงพื้นที่ในเขตชุมชนเมืองด้วย ทั้งนี้เพราะทุกคนต้องพึ่งพาธรรมชาติเป็นแหล่งอาหาร น้ำดื่ม อากาศที่บริสุทธิ์ และสภาพอากาศที่ไม่เปลี่ยนแปลง สวนสาธารณะ คือ "ปอดสีเขียว" และ "สร้อยคอสีเขียวมรกต" ในชุมชนเมืองที่มีประโยชน์ และคอยเป็นตัวกั้นการแผ่ขยายของชุมชนเมือง การจัดการบริการทางนิเวศจึงมีความจำเป็นสำหรับชีวิตมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในทุกพื้นที่ ผู้คนจากชุมชนเมืองที่มักเดินทางกลับไปยังพื้นที่ในชนบท หากพวกเขาอยากมีส่วนช่วยเหลือชุมชนในชนบทอย่างเป็นประโยชน์ ต้องมีความเข้าใจถึงธรรมชาติในพื้นที่นั้น ๆ