แนวทางของระบบนิเวศ
นักล่าสัตว์ได้ฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำหลายร้อยแห่งในอเมริกาเหนือ เครดิตภาพจาก Ducks Unlimited
ตามแนวทางของระบบนิเวศ พบว่า การเปลี่ยนแปลงในระบบนิเวศและการเปลี่ยนแปลงของชนิดพันธุ์ในระบบนิเวศนั้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะเป็นตามกระบวนการทางธรรมชาติซึ่งอาจเกิดขึ้นได้อย่างช้า ๆ หรืออาจเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ยกตัวอย่าง เช่น การตื้นเขินของทะเลสาบที่เกิดจากดินตะกอนที่พัดพามาจากภูเขา เป็นต้น มนุษย์อาจเปลี่ยนระบบนิเวศได้โดยเจตนา เช่น การเปลี่ยนพื้นที่ป่าไม้ไปเป็นพื้นที่เพาะปลูก และโดยไม่เจตนา เช่น พื้นที่เพาะปลูกที่มีอยู่อย่างหนาแน่น เมื่อมีสภาพเสื่อมโทรมอาจกลายไปเป็นทะเลทรายหรือทุ่งหญ้าได้ในที่สุด ผลกระทบบางอย่างจากการกระทำของมนุษย์เป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติได้โดยไม่ได้ตั้งใจ เช่น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น ผลกระทบจากมนุษย์บางอย่างต่อระบบนิเวศสามารถลดลงได้ง่าย หากผู้ใช้ผลผลิตจากระบบนิเวศนั้นเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา ด้วยเหตนี้ นักตกปลาจึงสนับสนุนให้มีบันไดปลาโจนบริเวณเขื่อน ในขณะที่นักล่าเป็ดพยายามที่จะรักษาพื้นที่ชุ่มน้ำซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของเป็ดเอาไว้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับธรรมชาติสามารถแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว หากนำความรู้จากส่วนกลางมาช่วยพัฒนาทักษะของคนในท้องถิ่น และมีเงินทุนเพียงพอที่จะส่งเสริมความพยายามของชุมชนท้องถิ่น ซึ่งนำโดยหลาย ๆ ท้องถิ่นที่ให้ความสนใจ
การปรับตัวของชนิดพันธ์ุป่าต่อการเปลี่ยนแปลง
นกนางแอ่นอพยพไปทางทิศเหนือเพื่อผสมพันธุ์ เครดิตภาพโดย Gallinago_media/Shutterstock
ระดับการเปลี่ยนแปลงในระบบนิเวศแสดงให้เห็นได้โดยองค์ประกอบชนิดในระบบนิเวศนั้น ๆ ในเขตพื้นที่นอกเขตร้อน ดอกไม้จะบานและแมลงจะบินโผล่ออกมาในช่วงที่อากาศมีอุณหภูมิสูงขึ้นในรอบปี ส่วนในเขตร้อน การเปลี่ยนแปลงของปริมาณน้ำฝนก็จะมีผลต่อพืชพรรณต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ สามารถเห็นได้จากการกำหนดเวลาของนกบางชนิดที่มีการการอพยพเพื่อตั้งถิ่นฐาน หรือบางชนิดอาจมีการเคลื่อนที่ไปทางทิศเหนือเรื่อย ๆ เพื่อผสมพันธุ์ เป็นต้น บางครั้งชนิดพันธุ์ที่เคลื่อนที่ได้น้อยอาจจจะปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้ดีกว่าแต่จะไม่สามารถแพร่กระจายไปยังพื้นที่ใหม่ได้เร็วนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากสิ่งมีชีวิตนั้นอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่จำกัด เช่น ตามชายฝั่งหรือบนภูเขาที่โดดเดี่ยว เป็นต้น สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีทั้งที่กินและถูกกินโดยสิ่งมีชีวิตอื่น ดังนั้นการสูญพันธุ์ภายในท้องถิ่นของสิ่งมีชีวิตหนึ่งจึงส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในระบบนิเวศนั้น ๆ ด้วย ทุกคนจึงต้องตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงในโลกของเราที่เกิดขึ้นเพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีความหมายต่อสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ทั้งสิ้น โรงเรียนในพื้นที่ของคุณหรือที่ทำงานของคุณเป็นศูนย์กลางสำหรับบันทึกข้อมูลเหล่านี้ไว้บ้างหรือไม่ ?
การปรับตัวโดยมนุษย์
วัวสีน้ำตาลปรับตัวเพื่ออยู่อาศัยในป่าของโคลัมเบีย เครดิตภาพโดย April DeBord / Shutterstock
แม้แต่ผู้ที่อาศัยในชุมชนเมืองเองก็ยังต้องพึ่งพาระบบนิเวศ ไม่ว่าจะเป็น อาหาร น้ำ และอากาศ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศจึงมีผลกระทบต่อพวกเราทุกคน เกษตรกรที่เพาะปลูกจำเป็นต้องทราบถึงสภาพภูมิอากาศที่สามารถคาดเดาได้ เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนการปลูกพืชอาหารในแต่ละปี การเจริญเติบโตของหญ้าสำหรับปศุสัตว์บนทุ่งหญ้าเปียกหรือเนินเขาอาจลดน้อยลงบ้าง จึงจำเป็นต้องมีการดูแลรักษาไว้ชั่วคราว เพื่อทดแทนช่วงที่การเจริญเติบโตไม่ดีนัก อย่างไรก็ตาม ภาวะฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน เป็นปัญหาทั้งกับพืชผลและปศุสัตว์ และป่าไม้โดยฝนจะทำให้ป่าไม้ปลอดภัยจากไฟป่าในช่วงของการเจริญเติบโต โชคดีที่ป่าไม้สามารถรักษาความชุ่มชื้นในดินและกักเก็บคาร์บอนเอาไว้ได้ และการที่มนุษย์กินเนื้อสัตว์ในฟาร์มลดน้อยลง สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมทางปศุสัตว์ได้เช่นกัน การทำปศุสัตว์อาจเป็นการใช้ดินที่ยั่งยืนที่สุดสำหรับพื้นที่หนึ่งซึ่งไม่เหมาะสมต่อการปลูกพืช ในขณะที่ในพื้นที่เดียวกัน การล่าสัตว์ป่าอาจสร้างรายได้ทางเศรษฐกิจมากกว่าการทำปศุสัตว์ เช่น ในแอฟริกาซึ่งที่ค่าใช้จ่ายในการป้องกันโรคในปศุสัตว์สูงและมีศักยภาพใกล้เคียงกันกับพื้นที่ "สร้างใหม่" อื่น ๆ เป็นต้น ธรรมชาติที่สมบูรณ์มากขึ้นอาจเพิ่มความสามารถในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตเมื่อพบเจอกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง การรักษาความรู้ดั้งเดิมในการจัดการที่ดินเป็นสิ่งที่สำคัญและมักจะสูญหายไปเนื่องจากที่ดินนั้นถูกปรับเปลี่ยนไปโดยเครื่องจักรกลการเกษตรที่ทันสมัย